ประวัติความเป็นมา

สภาพทั่วไปของตำบล
เทศบาลตำบลท่าชี ตั้งอยู่ 9/20 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าชี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเดิมได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 เดือนกันยายน พ.ศ.2556 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 6 เดือนกันยายน พ.ศ.2556 เทศบาลตำบลท่าชีมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีพื้นที่รับผิดชอบตำบลท่าชี มีจำนวน 6 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ระยะทาง 14 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะทาง 65 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถนนสาย 41 ระยะทาง 710 กิโลเมตร การเดินทางไปมาภายในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้าน ตำบล และพื้นที่ใกล้เคียงใช้การสัญจรทางบก ซึ่งมีการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ด้วยศักยภาพและทรัพยากรของท้องถิ่นตามคำขวัญของเทศบาลตำบลท่าชี "อนุรักษ์จันทน์กะพ้อ ถิ่นเกิดก่อปลาเม็ง แหล่งนกและสัตว์น้ำ งดงามด้วยธรรมชาติ พุทธศาสตร์รุ่งเรือง ฟูเฟื่องทรัพยากร"

อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ จดตำบลเขาตอก อำเภอเคียนซาและตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม
ทิศใต้ จดตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร
ทิศตะวันออก จดตำบลน้ำพุ อำเภอบ้านนาสาร
ทิศตะวันตก จดตำบลอรัญคามวารี อำเภอเคียนซา


จากประวัติความเป็นมาของอำเภอบ้านนาสาร
      บ้านนาสาร มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้รับอารยธรรมมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย เมืองไชยา และเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีตคืออำเภอบ้านนา มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่ โดยมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์สยาม สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีการตั้งถิ่นฐานอยู่โดยรอบอ่าวบ้านดอน ลุ่มแม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำอีปัน คลองฉวาง คลองหา คลองลำพูน คลองยา คลองทำาสะท้อน มีหลักฐานความเจริญบริเวณบ้านน้ำรอบ บ้านท่าสะท้อน บ้านท่าเรือ บ้านความท่าแร่ บ้านอู่มาต(นาสาร) ภูเขาถ้ำขรม เมืองเวียงสระ บ้านน้ำพุ บ้านท่ารี บ้านเคียนซา บ้านพระแสง มีการบันทึกหลักฐานทางประวัตศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีอื่นถึงปัจจุบันตามลำลับ ดังนี้

บ้านนาอยู่ในเขตการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
      อำเภอบ้านนาสาร เดิมเรียกว่าอำเภอบ้านนา เนื่องจากมีที่นามาก เรียกตามท้องที่ตั้งหมู่บ้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรียกว่าบ้านนา และลำพูน ส่วนประชาชนในท้องถิ่นเรียกว่าบ้านนา ใน ร.ศ.30 (พ.ศ.2354) มีชื่อปรากฎคือแขวงลำพูน และท้องที่ลำพูน ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยดูแลพื้นที่อำเภอฉวาง อำเภอเวียงสระส้องห้วยมะนาว (ตำบลเวียงสระ) บ้านหมากตำบลกอบแกบ ตำบลทุ่งเตา อำเภอน้ำพุท่าชี (ท่าชี) ตำบลท่าเรือ ตำบลบ้านนา อำเภอพระแสง ตำบลเคียนซา ตำบลพนม มีอาณาเขตด้านตะวันออกติดต่อเมืองกาญจนดิษฐ์ ด้านใต้ ติดต่อเมืองกระบี่ด้านตะวันตก ติดต่อเมืองคีรีรัฐนิคมด้านเหนือ ติดต่อเมืองไชยามณฑลชุมพร

      ใน ร.ศ.96 (พ.ศ.2420) มีการจัดปครองท้องที่แขวงลำพูน แยกอำเภอเวียงสระส้องห้วยมะนาวเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอเวียงสระ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงสระ อำเภอส้องห้วยมะนาว ตั้งที่ว่าการที่บ้านส้อง ขึ้นกับเมือนครศรีธรรมราช

      ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองตามพระราบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) และข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดเขตการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด(ปากพนัง) อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร อำเภอลำพูน ใน ร.ศ.117 และ ร.ศ.118 ในส่วนอำเภอลำพูน เมืองนครศรีธรรมราชมณฑลนครศรีธรรมราช จัดการปกครองดังนี้ คือ ยุบอำเภออิปัน เป็นตำบลอิปัน อำเภอพระแสงเป็นตำบลพระแสง ยุบกิ่งอำเภอพนม เป็นตำบลพนม ยุบอำเภอเวียงสระ ยุบอำเภอส้องห้วยมะนาว เป็นตำบลเวียงสระ แขกบ้านทุ่งหลวงเป็นตำบลทุ่งหลวง มารวมกับตำบลที่มีอยู่เดิมของท้องที่ลำพูน คือตำบลกอบแกบ (ลำพูน) ตำบลพรุพี ตำบลอู่มาต ตำบลทุ่งเตา ตำบลท่าเรือ ตำบท่าชี

ความเป็นมาของชื่อ "บ้านท่าชี” ท่าชี มีที่มาของชื่อดังต่อไปนี้
     ในสมัยก่อน โน้นการสร้างที่อยู่อาศัยจะตั้งใกล้ลำคลอง หรือแม่น้ำเพราะการคมนาคมอาศัยสายน้ำเป็นหลักได้มีชุมชนหนึ่งได้สร้างหลักฐานอยู่ใกล้ลำคลองถวาง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของชาวท่าชีในปัจจุบันนี้ไม่ปรากฎหลักฐานในการตั้งชื่อบ้าน และได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งริมลำคลองฉวาง ต่อมาในราวสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งสงครามพม่า(ศึกถลาง) ตอนที่พม่าตีหัวเมืองปักษ์ใต้และได้ไปตีเมืองถลาง แต่ไม่สามารถตีแตกได้เพราะมีวีระสตรีไทยปกป้องไว้ได้ คือท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร ได้มีพี่น้องชาวถลางบางส่วนที่หนีภัยสงคราม ไปตามเส้นทางต่างๆและได้มีพี่น้องสกุลหนึ่งได้เดินทางมาทางพังงาพบลำคลองพุมดวงได้ตั้งรกรากที่ลำคลองพุมดวง และขึ้นมาตามแม่น้ำตาปีบ้างมีส่วนหนึ่งใด้ขึ้นเลยมาตามลำคลองฉวางมาเห็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีชาวบ้านอาศัยอยู่และมีวัดร้างอยู่ มีที่ดินทำกินมากมาย จึงได้ขออาศัยอยู่กับชาวบ้านที่นี่ พี่น้องสกุลนี้มีด้วยกันกัน 5 คน เป็นผู้หญิง 2 คม ผู้ชาย 3 คน เขาเหล่านี้เป็นนักรบที่เก่งกล้าและถืออาคมขลัง จึงได้ช่วยกันบูรณวัดร้างนั้นขึ้นมาใหม่ โดยพี่ชายคนโตได้บวชเป็นพระ(ชาวบ้านเรียกท่านว่า "พ่อท่านจันทร์" น้องสาวคนหนึ่งบวชเป็นชี(ชาวบ้านเรียกท่านว่า "เเม่ชีบัวลอย") ส่วนที่เหลือก็สร้างรกรากอยู่ที่นี่ คือ ตาคง น้องชายท่านบวชเป็นชีปะขาว อยู่ที่ท่าซองใกล้วัด ขุนตามีคาถาอาคมเข้มขลังมากบำเพ็ญตบะแก่กล้าจนกลายเป็นเสือพ่อตาอาศัยอยู่ที่เกาะฐานใกล้วัด น้องสาวอีกคนได้มีครอบครัวอยู่ใกล้วัดนั้น เมื่อได้สร้างวัดเจริญเต็มที่แล้ว ได้มีพระสงฆ์และแม่ชีบวชอยู่เป็นจำนวนมาก พ่อท่านจันทร์ได้แบ่งวัดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่ของพระ (เขตตะวันออก) เขตตะวันตกเป็นที่อยู่ของชี โดยมีลำคลองฉวางเป็นท่าน้ำที่เจริญมากในสมัยนั้น และใช้เป็นที่อาบน้ำของพระและมีชีชาวบ้านจึงตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดท่าชี" ท่า หมายถึงท่าน้ำ ชี หมายถึงแม่ชี รวมเป็นท่าน้ำของแม่ชี และเรียกหมู่บ้านนั้นติดปากกันต่อมาว่า "บ้านท่าชี" ตั้งแต่นั้นมา
วิสัยทัศน์
"เทศบาลตำบลท่าชี  มีแหล่งน้ำสะอาด ปราศจากโรคภัย คมนาคมแก้ไข อนุรักษ์ทรัพยากร เพิ่มขั้นตอนการเกษตร
เสริมประเภทการกีฬา การศึกษาคู่ประเพณี สิ่งแวดล้อมพร้อมดี เพื่อสังคมท่าชีพัฒนา"